Art


 

 

 

 

 

 

ภาพการออกแบบปกสมุดโรงเรียนอำนาจเจริญ

 

 

 

 

 

 

การเขียนภาพดอกกุหลาบ...ด้วยเทคนิคสีน้ำ (แบบแห้ง)


       จากครั้งที่แล้วหลาย ๆ ท่านที่ได้ชมการสาธิต อาจจะมีความรู้สึกว่า ยาก สำหรับการเขียนภาพสีน้ำแบบเปียก  เนื่องจากว่าต้องเขียนให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ก่อนที่กระดาษจะแห้งเสียก่อน  ในครั้งนี้...เราลองมาเปรียบเทียบกันดูสิว่า...จะมีความแตกต่างกันอย่างไร 
            การเขียนภาพดอกไม้ ดอกกุหลาบ ด้วยเทคนิคสีน้ำ ที่นำมาสาธิตวิธีการเขียนในภาพนี้  เป็นการระบายสีน้ำบนกระดาษแห้ง  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้หัดวาดสีน้ำใหม่ ๆ  ที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับวิธีการวาดภาพด้วยสีน้ำ...


หุ่นนิ่งดอกกุหลาบในแจกัน และผลไม้


         เพราะว่า...ใช้เวลาวาดได้เรื่อย ๆ ตามขั้นตอนโดยไม่ต้องเร่งรีบมาก  ข้อดีของวิธีการนี้ คือ ควบคุมได้ง่าย ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติและคุ้นเคยกับวิธีการวาด  ก็สามารถวาดภาพออกมาได้อย่างสวยงาม ขั้นตอนในการวาดภาพ มีดังนี้...ครับ


รายละเอียดของดอกกุหลาบ


ขั้นตอนการเตรียมการ


ร่างภาพลายเส้นด้วยดินสอ



สีทั้งหมดที่จะใช้ในงานเขียนภาพชิ้นนี้

         เริ่มต้นที่ดอกกุหลาบ เพราะจุดเด่นของภาพคือดอกกุหลาบ  ระบายสีดอกกุหลาบด้วยสีแดงชมพู (
rose madder) ผสมกับแดงส้ม (cadmium red) มีบางดอกที่จะใช้สีแดงเข้ม (arisarin crimson) ผสมสีฟ้า (cobalt blue) นิดหน่อย  เพื่อตัดความสดของสีแดง








         ลงสีของดอกไม้เป็นระนาบตามกลีบของดอกไม้  เมื่อสีแห้งแล้ว  ใส่น้ำหนักเน้นรายละเอียดให้ดอกดูมีความลึก  เช่นเดียวกันกับผลไม้ทั้ง ๓ ลูก  ให้ลงสีตามสีของผลไม้ แอปเปิ้ลสีเขียว ใช้สีเขียว (sap green) ผสมสีเหลือง (cadmium yellow) เว้นขาวตรงจุดสว่างที่สุดในลูกแอปเปิ้ลไว้  ทิ้งตรงจุดนี้ไว้ให้แห้ง

 












         แล้วใช้พู่กันลูบให้กลมกลืนกับผิวของแอปเปิ้ล  ลงน้ำหนักเงาของแอปเปิ้ล  ใช้สีเขียวผสมกับสีฟ้านิด ๆ ตัดด้วยสีส้ม  เพื่อทำให้สีเขียวดูมืดลง  ระบายตามระนาบของผลไม้ ระนาบด้านบนที่เป็นก้าน  เขียนให้ดูมีความลึกลงไปด้วย  

         เขียนผลไม้ ๒ ลูกด้านหลัง  ระวังอย่าให้ดูสว่างกว่าลูกแอปเปิ้ลเขียว  สีที่ใช้เป็นสีแดงผสมเหลืองตัดด้วยเขียว (sap green) หรือฟ้า (serulean blue) เว้นแสงเพื่อให้ดูกลม
         กลับมาเขียนใบและก้านของดอกกุหลาบ ใช้สีเขียว (sap green) ถ้าอยากให้เข้มผสมสีฟ้า  ใบอ่อนที่ถูกแสงผสมเหลือง  แห้งแล้วค่อยเน้นน้ำหนักและรายละเอียด










         ต่อไปวาดแจกันใส่ดอกไม้  แบ่งการระบายสีออกเป็น ๒ ส่วน ตามระนาบที่เห็น  ด้านข้างและด้านบน  เขียนด้านข้างก่อนจากซ้ายไปขวา ตามถนัด  สังเกตด้านซ้ายจะเป็นเงา เริ่มด้วยสีเข้ม ใช้สีน้ำเงินเข้ม (
indico) ผสมสีน้ำตาลเข้ม (sepia) สีรองลงมาจะมีสีออกม่วงเข้ม ฟ้า แดง ส้ม







         สีทั้งหมดอย่าให้ดูสว่างเกินไป ต้องคอยตัดด้วยสีตรงกันข้าม  แห้งแล้วระบายระนาบด้านบนเว้นแสงบางจังหวะ ขั้นตอนสุดท้าย คือ ลงพื้นหลังและผ้าด้านหน้า 

         ลงสีพื้นหลัง ซึ่งก็เป็นผ้าเหมือนกัน  ใช้สีเขียว (sap green) ผสมกับสีเหลือง (yellow ochre) ลงเป็นพื้นลงมา  ด้านล่างควรจะเข้มเพราะเป็นเงาด้านหลัง คัดผลไม้ให้เด่น ใช้สีฟ้าอมเขียว คัดด้วยแดงนิดหน่อย 







         ตอนที่สีกำลังหมาด ๆ อยู่นี้  ให้ใช้สีชมพูแตะไปบนพื้นด้านหลังนี้ เพราะเป็นสีที่สะท้อนจากดอกไม้ ทำให้ภาพดูกลมกลืน












         แห้งแล้วก็ระบายผ้าด้านหน้าด้วยสีเขียว แต่ให้สว่างกว่าด้านหน้า ใช้สีเหลือง ส้ม แดง ระบายเป็นบางจุด  เพื่อให้เกิดความกลมกลืนในภาพ  แห้งแล้วเน้นน้ำหนักเงาตามระนาบ รอยยับของผ้าเป็นอันเสร็จสมบูรณ์